วันพุธที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552

งานชิ้นที่4

งานชิ้นที่ 4

ให้เขียนบทความที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดของชาติ (Ultimate Goal) ที่ว่า เรียนมีคุณภาพ (Quality Learner)

การศึกษา คือการสร้างคนให้มีความรู้ ความสามารถมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นมีลักษณะนิสัยจิตใจที่ดีงาม มีความพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อตนเองและสังคม มีความพร้อมที่จะ ประกอบการงานอาชีพได้ การศึกษาช่วยให้คนเจริญงอกงาม ทั้งทางปัญญา จิตใจ ร่างกาย และสังคม การศึกษาจึงเป็นความจำเป็นของชีวิตอีกประการหนึ่ง นอกเหนือจากความจำเป็น ด้านที่อยู่อาศัย อาหารเครื่องนุ่งห่ม และยารักษาโรค การศึกษาจึงเป็นปัจจัยที่ 5 ของชีวิต เป็นปัจจัยที่จะช่วยแก้ปัญหาทุก ๆ ด้านของชีวิตและเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของชีวิตในโลกที่มีกระแสความเปลี่ยนแปลงทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่าง รวดเร็ว และส่งผลกระทบให้วิถีดำรงชีวิตต้องเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันการศึกษายิ่งมีบทบาทและความจำเป็น มากขึ้นด้วย การศึกษาที่จะช่วยให้ทุกคนมีชีวิตที่ดี มีความสุข จะต้องมีลักษณะ ที่สำคัญดังนี้

1. เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ และทักษะพื้นฐานที่จำเป็นอย่างเพียงพอ เช่น ความรู้และทักษะทางด้านภาษา การคิดคำนวณ ความเข้าใจหลักการทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นต้น สภาพปัจจุบันมีความจำเป็นต้องสนับสนุนให้ทุกคนได้รับการศึกษาขั้น พื้นฐานอย่างน้อย 12 ปี จึงจะเพียงพอกับความต้องการและความจำเป็นที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

2. การศึกษาทำให้คนเป็นคนฉลาด เป็นคนมีเหตุผล คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น และ รู้จักวิธีแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง และเพื่อการงานอาชีพ

3. การศึกษาต้องสร้างนิสัยที่ดีงาม ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนโดยเฉพาะนิสัยรักการ เรียนรู้ และนิสัยอื่น ๆ เช่นความเป็นคนซื่อสัตย์ ขยัน อดทน รับผิดชอบ เป็นต้น

4. การศึกษาต้องสร้างความงอกงามทางร่างกาย มีสุขภาพพลามัยที่ดี รู้จัก รักษาตนให้แข็งแรง ปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ และสารพิษ

5. การศึกษาต้องทำให้ผู้เรียนไม่เป็นคนเห็นแก่ตัว เห็นความสำคัญของประโยชน์ส่วนรวมให้ความร่วมมือกับผู้อื่นในสังคม อยู่รวมกับผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น ช่วยสร้างสังคมที่สงบเป็นสุข รักษาสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 6. การศึกษาต้องทำให้คนมีทักษะการงานอาชีพที่เพียงพอกับการเข้าสู่การงานอาชีพ รู้จักการประกอบอาชีพและรู้จักพัฒนาการงานอาชีพ

ทั้ง 6 ประการ เป็นพื้นฐานทางการศึกษาที่จำเป็น ที่คนจะต้องได้รับรู้อย่างทั่วถึงทุกคน ถ้าทุกคนได้รับอย่างครบถ้วน เพียงพอก็จะทำให้เกิดทักษะลักษณะและนิสัยที่พึงประสงค์ได้ การศึกษาจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นเพียงสำหรับคนบางคน แต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนทุกคนโดยเฉพาะผู้ที่ขาดความพร้อมในปัจจัยต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตที่มีคุณภาพ ยิ่งมีความ จำเป็นมากที่สุด คนที่ขาดความพร้อมต้องการการศึกษามาก มักเป็นกลุ่มคนที่ถูกลืมตลอดเวลา การศึกษาที่ได้รับก็มักเป็นบริการที่กระท่อนกระแท่น ไม่เพียงพอกับการเรียนรู้ที่เหมาะสม ไม่พอแม้เพียงเพื่อดำรงชีวิตให้อยู่รอดปลอดภัย ตรงข้ามกับผู้ที่มีความพร้อมพอจะช่วยตนเองได้ กลับได้รับบริการที่มีคุณภาพและปริมาณที่ดีกว่ามาก ดังจะเห็นได้จากสถานศึกษาในเมืองกับในชนบท ที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในทุก ๆ ด้าน ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ การศึกษานอกจาก จะไม่สามารถสร้างความพร้อมที่เพียงพอกับผู้ต้องการแล้ว ยังส่งเสริมให้ช่องว่างระหว่าง คนรวยกับคนจนแตกต่างกันมากขึ้นด้วย เพื่อให้การศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างชาติ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับยุทธศาสตร์การศึกษาเสียใหม่ให้หันมาให้ความสำคัญกับคนยากจนคนเสียเปรียบ และคนด้อยโอกาสให้มากขึ้นทรัพยากรของรัฐต้องนำมาใช้จ่าย เพื่อปรับปรุงบริการการศึกษา สำหรับคนยากจนให้ดีขึ้นเป็นพิเศษ ให้เพียงพอกับการสร้างลักษณะนิสัยและความพร้อมที่จำเป็น ถ้าคนยากจน คนเสียเปรียบ คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษาที่เหมาะสม และมีคุณภาพ แล้ว ปัญหาต่าง ๆ ในบ้านเมืองก็จะลดน้อยลงไปโดยปริยายและยังทำให้เขากลายเป็นกำลัง สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างดีด้วย

การศึกษานอกจากเป็นปัจจัยที่ 5 แล้ว ยังเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของชีวิต และเป็นปัจจัยเพื่อความรุ่งเรืองของประเทศชาติในอนาคตอีกด้วย
ระบบการศึกษาไทยสำหรับอนาคต หากจะจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันการศึกษาจะต้องให้ความสำคัญกับผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ซึ่งเป็นผู้รับบริการการศึกษา โดยจะต้องเปลี่ยนมุมมองต่อกลุ่มบุคคลเหล่านี้ใหม่ ต้องมองว่าผู้เรียน พ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชน คือลูกค้าที่มารับบริการการศึกษาและคำปรึกษาแนะนำ ฝ่ายจัดการศึกษาต้องให้บริการการศึกษาที่ดีที่สุดแก่ลูกค้า ปัจจุบันนักการศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการของทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ไม่ใช่จัดตามความต้องการของนักวิชาการศึกษาและอาจารย์มหาวิทยาลัยแต่เพียงฝ่ายเดียว ประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกามีการปฏิรูปการศึกษา โดยให้โรงเรียนที่มีความพร้อมสามารถบริหารเองโดยอิสระในรูปของ Charter Schools ไม่ต้องใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดเหมือนโรงเรียนรัฐบาลปกติทั่วไปที่บริหารโดยภาครัฐ แต่ให้กำหนดมาตรฐานหรือธรรมนูญของโรงเรียน (Charter) ว่าโรงเรียนจะให้บริการการศึกษาอย่างไรแก่ผู้เรียนและผู้ปกครอง เพื่อเปิดโอกาสให้ฝ่ายลูกค้าได้มีทางเลือก โดยทางฝ่ายโรงเรียนต้องตระหนักในพันธะสัญญา (Commitment)ว่าจะจัดการศึกษาให้ดีที่สุดตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน Charter และมี Accountability คือยอมรับที่จะให้ทางฝ่ายผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชนสามารถตรวจสอบได้ว่าโรงเรียนทำได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ การศึกษาในยุคโลกาภิวัตน์จะเป็นการศึกษาที่เปิดเผยต่อสาธารณะ ให้สังคมเข้าไปตรวจสอบได้ ซึ่งจะเป็นผลดีแก่ทั้งฝ่ายผู้บริหารการศึกษาแะฝ่ายผู้รับบริการคือผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน ฝ่ายแรกได้รับความเชื่อถือ ฝ่ายหลังก็มีความพึงพอใจในคุณภาพการศึกษาที่ได้รับในด้านคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกคนคาดหวังจะให้เกิดขึ้นในสังคมไทย อยากเห็นเยาวชนไทยมีความรู้ ความสามารถในด้านการคิด ทักษะในการทำงาน มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่ตัดสินใจเพื่อสังคมส่วนรวมและประเทศชาติ และอยากเห็นเยาวชนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เจริญงอกงามครบสมบูรณ์ทุกด้าน เติบโตเป็นทั้งคนดีและคนเก่งของสังคม แต่สังคมไทยในปัจจุบันกลับมีการแสดงออกในทิศทางที่ตรงกันข้าม เช่น ผู้คนมักแสดงออกตามกระแสนิยม ความคิดไม่เข้มแข็งพอ ส่งผลให้สภาพสังคมอยู่ในสภาวะแตกแยก ทักษะและค่านิยมในการทำงานต่ำ จึงไม่มุ่งทำงานเพื่อให้เกิดคุณภาพของงาน และผลงานที่นำประโยชน์สู่สังคมโดยรวม จากการวิเคราะห์ ผลเหล่านี้ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนไปจนสั่งสมเป็นวัฒนธรรมแบบไม่เอื้ออาทรต่อกัน และละเลยกฎเกณฑ์ทางสังคม จนกระทั่งก้าวเลยไปถึงการทำลายสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนในสังคมโดยรวม สำหรับในด้านการศึกษา ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะเร่งรัดในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม แต่ก็ยังไม่ได้เน้นย้ำให้ชัดเจน เช่น รัฐบาลยังไม่ได้คัดเลือกบุคคลที่ควรได้รับการยกย่องเป็นคนดีในสังคม ซึ่งในสังคมไทยก็มีไม่น้อย เพื่อมาเป็นตัวอย่างให้เยาวชนยึดเป็นแบบอย่างให้ชัดเจน เพราะแบบอย่างที่ดีจะเกิดขึ้นในตัวผู้เรียนเป็นไปตามประสบการณ์ และสังคมแวดล้อมสำคัญในการจัดการศึกษา

การจัดการศึกษาให้ได้ผลดีและเกิดผลคุณภาพในเกณฑ์ระดับสูงได้นั้น ควรเพิ่มหลักการสำคัญในการพัฒนา 3 ประการ ดังนี้

ประการแรก ควรกำหนดให้ชัดเจนว่า ผู้เรียนควรมีมาตรฐานอะไรบ้าง และกำหนดมิติคุณภาพในแต่ละมิติ เช่น มิติคุณภาพด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านเจตคติ แล้วจัดเป็นระดับคุณภาพในแต่ละมิติจากขั้นต่ำไปสู่ขั้นสูง ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นการฉายคุณภาพแบบภาพรวมของนักเรียนทุกคน แล้วนำมายึดเป็นธงหรือคุณภาพเป้าหมายให้เหมือนๆ กัน เป็นหลักการที่ทุกคนนำไปใช้พัฒนาได้จริง ดังนั้น ธงหรือคุณภาพเป้าหมายทางการศึกษาจึงไม่ควรเปลี่ยนแปลงไปตามวาระของระบบการเมืองไปเรื่อยๆ จนทำให้การบริหารและการพัฒนาขาดความต่อเนื่อง และไร้เป้าหมาย

ประการที่สอง ควรดำเนินการติดตามตรวจสอบ ต้องใช้ระบบการประเมินที่สอดคล้องกับความเป็นเหตุเป็นผลกันของวิธีการกับผลที่ต้องการ รวมทั้งต้องพัฒนาหาวิธีการประเมินที่ใช้งบประมาณสิ้นเปลืองน้อย แต่ได้ผลและเกิดผลดีอย่างถาวร เพื่อนำไปใช้เป็นหลักการในการขยายผล และไม่ควรใช้วิธีแบบเน้นผลงานแบบเร่งด่วน ผิวเผินแต่ขาดหลักการพัฒนา จึงได้แต่ผลแบบที่มีคุณภาพต่ำ สิ้นเปลืองและไม่คุ้มค่า

ประการที่สาม การนำเสนอผลงานหรือระบบการรายงานผล ต้องเน้นให้เป็นลักษณะการนำเสนอในรูปแบบการแสดงออกจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นผลงานจากการคิด ผลงานจากการปฏิบัติ จึงต้องเน้นย้ำผลคุณภาพที่ประกอบไปด้วยการปฏิบัติจริง คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และความชื่นชม ซึ่งต้องการวัดและการประเมินด้วยผลงานจริง จากการลงมือทำจริง ยุทธศาสตร์สำคัญในการดำเนินงาน การดำเนินงานจึงต้องพิจารณาแนวทางที่นำไปสู่ผลได้จริง เพื่อให้เป็นหลักการสำคัญของการที่มุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยตรง เริ่มต้นจาก ผู้บริหารระดับสูงหรือระดับนโยบายกำหนดว่า คุณภาพเป้าหมายของผู้เรียนที่ชาติต้องการ เป็นคุณภาพเป้าหมายแบบใด ต้องกำหนดคุณลักษณะภาพของคนไทยที่เป็นแบบอย่างและเป็นสัญลักษณ์ของคนไทย มาประกาศให้เป็นตัวอย่างภาพรวมของชาติ เพื่อให้กระทรวงศึกษาธิการได้นำไปกำหนดในหลักสูตร เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนต้องมีความคิดที่เข้มแข็ง มีความสามารถในการผลิตผลงาน ร่วมพัฒนาสังคม และมีจิตใจงดงามแบบไทย เมื่อเราได้ภาพบุคคลคนไทยในอุดมคติแล้ว กระทรวงวัฒนธรรม และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ต้องนำไปใช้เป็นเกณฑ์ในการยกย่องเชิดชูเกียรติ ให้รางวัลตามผลแห่งคุณภาพ ทำให้โรงเรียนเห็นภาพฉายของบุคคลแห่งคุณภาพได้ชัดเจน และนำไปใช้สอนในโรงเรียนได้ และนำไปใช้เป็นเกณฑ์ตรวจสอบคุณภาพในการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษา จึงจะเห็นผลคุณภาพที่เป็นจริง ซึ่งต่างจากการเน้นสอบเพียงอย่างเดียว เพราะมีสถานศึกษาจำนวนมากที่ไม่สามารถอธิบายถึงความหมายของคะแนนที่นักเรียนสอบได้ เช่น นักเรียนสอบได้ร้อยละ 90 แต่ผู้บริหารหรือครูผู้สอนไม่สามารถอธิบายได้ว่านักเรียนคนนั้นคิดอะไร ทำอะไร แก้ปัญหาอะไรเป็นบ้าง ผลของการคิด การทำ การแก้ปัญหา ก็ไม่มีร่องรอยให้เห็น
ดังนั้น การสอบจึงเป็นเพียงส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการวัดผลประเมินผลเชิงคุณภาพเท่านั้น แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ดังนั้น องค์กรทางการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาทุกคนจึงต้องทำงานอย่างมีหลักการเชิงระบบ เพื่อให้เกิดคุณภาพของผู้เรียนอย่างแท้จริง คือกำหนดเป้าหมายงานให้ชัดเจน เป็นจริง เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้ แล้วประเมินได้ด้วยผลงานที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติจริง, หาแนวทาง วิธี ขั้นตอนปฏิบัติที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ ซึ่งเมื่อลงมือทำแล้วเกิดความสำเร็จได้จริง และมีการตรวจสอบที่สอดคล้องกับความเป็นเหตุเป็นผลกันของวิธีการกับผลที่ต้องการ และการรายงานผล ต้องมีงานที่ผู้เรียนทำได้จริง มีคุณภาพตามเกณฑ์มาเสนอประกอบงานด้วย มิใช่รายงานเฉพาะผลจากการสอบด้วยข้อสอบแบบเลือกตอบเท่านั้น เมื่อกำหนดกรอบความคิดชัดเจนแล้ว จึงดำเนินการสร้างความเข้าใจให้ตรงกัน อาจโดยการจัดประชุม อบรมให้กับครูอาจารย์เพื่อนำไปปฏิบัติจริง แนวทางดังกล่าวจะช่วยเสริมให้นโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ต้องการเพิ่มคุณภาพผู้เรียน ด้วยการเพิ่มคุณภาพวิธีจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู และวิธีเรียนรู้ของผู้เรียน โดยให้เน้นการจัดการความรู้หรือการออกแบบการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดผลย้อนกลับไปให้ผู้เรียนเป็นผู้สรุปความคิดรวบยอด หลักการ เป็นความรู้ของตนเอง (Backward Design) โดยใช้วิธีเรียนตามขั้นตอนการเรียนรู้ GPAS ให้สำเร็จได้โดยง่าย (G=Gathering ขั้นเลือกข้อมูล, P=Process ขั้นจัดข้อมูล คิดวิเคราะห์ วิจารณ์, A=Applying ขั้นนำไปใช้ โดยกำหนดขั้นตอน และลงมือปฏิบัติ, S=Self-Regulating ขั้นเรียนรู้เอง รู้จักประเมินเพื่อเพิ่มคุณธรรมจนเป็นนิสัย กลายเป็นตัวตนของผู้เรียน)
การพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายสูงสุดของชาติ (Ultimate Goal) ที่ว่า เรียนมีคุณภาพ (Quality Learner) ต้องมีการจัดระบบการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีแนวทางการพัฒนาที่โดยมีจุดหมายปลายทางที่มองเห็นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเพื่อการศึกษาไทยจะได้พัฒนาในอนาคตต่อไป

บรรณานุกรม

บทความการศึกษา” ใน www.student.chula.ac.th/~49447199/Related%20word.htm
กมลชนก มูสิกพันธ์ นวัตกรรม30 (กมลชนก EN) " คุณภาพการศึกษาไทย
ใน learners.in.th/blog/kate2/22222
กรอบความคิดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา” ใน www.swuaa.com/.../index.php?option

งานชิ้นที่3



ชื่อ – สกุล นายสาทิตย์ พ่อขันชาย รหัสนักศึกษา 522B46318
รายวิชา การวางแผนและการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา

งานชิ้นที่ 3

ให้จัดทำแผนกลยุทธ์ แสดงเทคนิควิธี (How to) ที่จะยกระดับการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษาของท่าน

กลยุทธ์การจัดการศึกษากลยุทธ์ระดับโรงเรียนกลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษากลยุทธ์ที่ 2 จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้กลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษากลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพกลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานกลยุทธ์ที่ 6 ระดมและจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
กลยุทธ์ระดับแผนงาน1. จัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาให้มีสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเน้นการบูรณาการให้สอด คล้องกับปัญหา ความต้องการทรัพยากรของชุมชนและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25452. ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างวินัยและสนับสนุนให้นักเรียนประกอบความดี3. พัฒนาคุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ สุขภาพอนามัย และคุณลักษณะที่ พึงประสงค์4. ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเต็มตามศักยภาพ5. ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทุกด้านในการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่16. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ สำหรับผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ7. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายและมีคุณภาพ8. ปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด9. ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและมีอุปกรณ์การศึกษาตามที่กำหนดและเต็มตามศักยภาพของท้องถิ่น10. ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้สึกมั่นคงปลอดภัย มีสุขภาพอนามัยและปราศจากอบายมุข11. จัดประชุม อบรม สัมมนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง12. สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยการให้ศึกษาดูงาน ศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการอบรม สัมมนา และการศึกษาต่อ13. ประสานความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ14. ส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมและงานประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง15. สนับสนุนการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน16. ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและให้การอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม แก่ผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ17. ปรับปรุงระบบข้อมูล สารสนเทศของโรงเรียนให้ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน18. สนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนร่วมพัฒนาโรงเรียนเต็มตาม ศักยภาพ19. ใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในการบริหารจัดการศึกษา20. ปรับปรุงระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง21. เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรให้มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานโดยใช้ระบบคุณธรรม22. จัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น23. ประสาน ส่งเสริม ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา24. ใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถาบันอื่นๆเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการศึกษา25. ส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา26. ส่งเสริมการขยายบริการการศึกษาภาคบังคับให้กับประชากรวัยเรียนทุกคนในเขตบริการ27. ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการศึกษาโดยเน้นการเฝ้าระวังเด็กออกกลางคันในโรงเรียนและจัดให้มีระบบการรับส่งต่อนักเรียนที่มีประสิทธิภาพ28. ส่งเสริมการจัดการศึกษาสำหรับเด็กพิการ เด็กด้อยโอกาส และเด็กที่มีความสามารถพิเศษอย่างเต็มศักยภาพ29. จัดให้มีระบบการเทียบโอนผลการเรียนระหว่างโรงเรียนรวมทั้งการเทียบโอนประสบการณ์ทำงานเป็นผลการเรียน30. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ31. ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ32. ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน และยกระดับความสามารถในการอ่านของผู้เรียนทุกคน33. พัฒนาจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ส่งเสริมกิจกรรมสารสายใยครูและศิษย์ ตลอดจนกิจกรรมทางศาสนาเพื่อปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่ถูกต้อง 34. ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายเพื่อการเรียนรู้35. พัฒนากฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ โครงสร้างการวางแผน อัตรากำลังบุคลากร36. ส่งเสริมสนับสนุน ยกย่อง เชิดชูเกียรติ ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีผลงานเด่น รวมทั้งครูที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น37. ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ครู และบุคลากรทางการศึกษา38. พัฒนาระบบนิเทศกำกับติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการจัดการศึกษา39. พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพการให้บริการ40. พัฒนาระบบการควบคุมภายใน41. ปรับปรุงภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมของสถานศึกษา42. พัฒนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้าน ภาษา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอาชีพ โดยเน้นการปฏิบัติจริง43. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าแข่งขันทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ
กลยุทธ์ระดับโครงการ1. โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ2. โครงการส่งเสริมและพัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน3. โครงการการส่งเสริมและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน4. โครงการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของนักเรียน5. โครงการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน6. โครงการปรับปรุง พัฒนา สถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์/แนวปฏิบัติแต่ละกลยุทธ์ในการดำเนินงาน

กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเสมอภาคและเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษา1.1 จัดทำและใช้หลักสูตรสถานศึกษาให้มีสาระการเรียนรู้ตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเน้นการบูรณาการให้สอดคล้องกับปัญหา ความต้องการทรัพยากรของชุมชนและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 1.2 ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้โดยพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรม เสริมสร้างวินัยและสนับสนุนให้นักเรียนประกอบความดี1.3 พัฒนาคุณภาพนักเรียนตามมาตรฐานการเรียนรู้ทั้งด้านความรู้ สุขภาพอนามัย และคุณลักษณะที่พึงประสงค์1.4 ส่งเสริมการเรียนรู้สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติเต็มตามศักยภาพ1.5 ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาเด็กปฐมวัยให้มีความพร้อมทุกด้านในการเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 1.6 ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรเทคโนโลยีทางการศึกษาและแหล่งเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้สำหรับผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพกลยุทธ์ที่ 2 จัดการเรียนการสอนตามแนวปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ 2.1 ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้หลากหลายและมีคุณภาพ2.2 ปรับปรุงระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด2.3 ปรับปรุงแหล่งเรียนรู้ สื่อ นวัตกรรมและมีอุปกรณ์การศึกษาตามที่กำหนดและเต็มตามศักยภาพของท้องถิ่น2.4 ปรับปรุงบริเวณอาคารสถานที่ ตลอดจนสภาพแวดล้อมให้สะอาด ร่มรื่น น่าอยู่ เอื้อต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้เรียนรู้สึกมั่นคง ปลอดภัย มีสุขภาพอนามัย และปราศจากอบายมุขกลยุทธ์ที่ 3 เพิ่มศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 3.1 จัดประชุม อบรม สัมมนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง3.2 สนับสนุนให้บุคลากรได้พัฒนาตนเองด้วยการให้ศึกษาดูงาน ศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการอบรมสัมมนา และการศึกษาต่อ3.3 ประสานความร่วมมือในการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบกลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ4.1 ส่งเสริมและให้ความร่วมมือกับชุมชนในการจัดกิจกรรมและงานประเพณีต่าง ๆ ของท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง4.2 สนับสนุนการจัดแหล่งเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ทั้งในและนอกโรงเรียน4.3 ส่งเสริมให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นและให้การอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่ผู้เรียนเต็มตามศักยภาพกลยุทธ์ที่ 5 พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน5.1 ปรับปรุงระบบข้อมูล สารสนเทศของโรงเรียนให้ถูกต้อง ชัดเจน และเป็นปัจจุบัน5.2 สนับสนุนให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนร่วมพัฒนาโรงเรียนเต็มตามศักยภาพ5.3 ใช้ระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานในการบริหารจัดการศึกษา5.4 ปรับปรุงระบบการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง5.5 เสริมสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ครูและบุคลากรให้มีความภาคภูมิใจในการปฏิบัติงานโดยใช้ระบบคุณธรรมกลยุทธ์ที่ 6 ระดมและจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษาโครงการ/กิจกรรมม1. จัดการศึกษาโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น2. ประสาน ส่งเสริม ให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษา3.ใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างสถานศึกษาและสถาบันอื่นๆเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการศึกษา
1. โครงการส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนให้มีคุณธรรมจริยธรรม - การอบรมนักเรียนในกิจกรรมหน้าเสาธง - สวดมนต์วันสุดสัปดาห์ - การอบรมเข้าค่ายพุทธธรรม (ป.5-ป.6) - การทำบุญในวันสำคัญ

2.โครงการจัดการเรียนรู้และประเมินผลตามสภาพจริง - ทดสอบก่อนเรียน - สอบกลางปี - สอบหลังเรียน - สอบปลายปี

3.โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ - วิเคราะห์หลักสูตร - ประเมินผู้เรียน - ออกแบบกิจกรรมตามหลักสูตร - ออกแบบและผลิตสื่อการเรียนการสอน

4.โครงการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง - กิจกรรมปฐมนิเทศ - กิจกรรมชมรมต่างๆ - กิจกรรมแนะแนวการศึกษาและอาชีพ -กิจกรรมทัศนศึกษา -กิจกรรมการแข่งขันเชิงวิชาการ -กิจกรรมลูกเสือ ยุวกาชาด -กิจกรรมปัจฉิมนิเทศ

5.โครงการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนมีทักษะในการทำงาน รักการทำงานสามารถทำงานร่วมกับ ผู้อื่นได้ และมีเจตคติทีดีต่ออาชีพสุจริต - กิจกรรมวิเคราะห์หลักสูตร - วิเคราะห์ผู้เรียน - กิจกรรมประเมินผู้เรียน

6.โครงการส่งเสริมผู้เรียนมีสุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี - สำรวจข้อมูลนักเรียนด้านสุขภาพอนามัย - อาหารกลางวัน -อาหารเสริมนม -ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน -ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

7.โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ดนตรี กีฬา - กิจกรรมกีฬาสี -กิจกรรมเข้าจังหวะ -กิจกรรมส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ

8.โครงการศึกษาอบรมเพิ่มเติม -กิจกรรมอบรมครู -เข้าค่ายธรรมะ -ศึกษาดูงาน

9.โครงการพัฒนาหลักสูตร - กิจกรรมจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา - กิจกรรมปรับปรุงหลักสูตร

10.โครงการเพิ่มศักยภาพสู่ครูมืออาชีพ - กิจกรรมส่งเสริมครูได้รับการอบรมอย่างต่อเนื่องตามความสนใจ -กิจกรรมการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ -กิจกรรมการจัดทำวิจัยในชั้นเรียน

11.โครงการสร้างเครือข่ายระบบบริหารจัดการ - กิจกรรมประชุม - กิจกรรมบริหารงานวิชาการ -กิจกรรมบริหารงานงบประมาณ - กิจกรรมบริหารงานบุคคล -กิจกรรมบริหารงานทั่วไป

12.โครงการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน -กิจกรรมประชุมวางแผนการดำเนินงาน - กิจกรรมประชาสัมพันธ์

13.โครงการท้องถิ่นนี้มีอาชีพ - กิจกรรมการทำไม้กวาดจากใบเป้ง -กิจกรรมทำพานบายศรี -กิจกรรมการจักสาน -กิจกรรมการทอเสื่อ

14.โครงการสร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ - กิจกรรมอบรมเพิ่มเติม - กิจกรรมศึกษาดูงาน

15.โครงการผลิตและใช้สื่อ
- กิจกรรมอบรมการผลิตสื่อ - กิจกรรมการจัดทำ และซ่อมแซมสื่อ